ค้นเจอ 128 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา การเวก, ทารก, กราก, อาการนาม, กรก

การก

หมายถึง[กา-รก] น. ผู้ทำ. (ไว) ก. กริยาที่ทำหน้าที่ประธาน กรรม หรือส่วนขยายของประโยคที่คล้ายกับนาม มี ๕ ชนิด คือ กรรตุการก กรรมการก การิตการก วิกัติการก และวิเศษณการก. (ป., ส.).

กัปปิยการก

หมายถึง[-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.

กรรตุการก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).

ขอบิณฑบาต

หมายถึงก. ขอให้ละเว้นการกระทำ.

อภิวาท

หมายถึงน. การกราบไหว้. (ส., ป.).

กฎศีลธรรม

หมายถึงน. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางศีลธรรม.

อภิวาทน์

หมายถึงน. การกราบไหว้. (ส., ป.).

ศลิษา

หมายถึง[สะลิ-] น. การกอดรัด. (ส.).

วจีกรรม

หมายถึงน. การพูด, การกระทำทางวาจา, เช่น การกล่าวเท็จเป็นการทำผิดทางวจีกรรม. (ป. วจีกมฺม).

ลงเรือลำเดียวกัน

หมายถึง(สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน.

ปฏิกิริยา

หมายถึงน. การกระทำตอบสนอง; การกระทำต่อต้าน; ผลของการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทำ). (อ. reaction).

วีรกรรม

หมายถึง[วีระกำ] น. การกระทำที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ, การกระทำของผู้กล้าหาญ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ