หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)

หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)
หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)

ไปเริ่มดูหลักการอ่านออกเสียงกริยา 3 ช่องที่เติม ed กันเลย

 

หลักในการอ่านคำกริยาปกติที่เติม -ed มี 3 ข้อ ดังนี้

1.ถ้ากริยาลงท้ายเสียงด้วย /t/ ถึ เมื่อเติม -ed ท้ายคำแล้ว ให้อ่านเป็น "ทิด" หรือ "เท็ด" เช่น
 wantedว้อนเท็ดต้องการ
 deletedดีเลีทเท็ดลบล้าง
 actedแอ็คเท็ดแสดง
 และถ้าคำกริยาลงท้ายด้วยเสียง /d/ ดึ เมื่อเติม -ed ท้ายคำแล้วให้ออกเสียงเป็น "ดิด" หรือ "เด็ด" เช่น
 neededนีดเด็ดต้องการ
 handedแฮนเด็ดส่ง
 fadedเฟดเด็ดเลือนราง
2.คำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง /f/, /k/,/p/,/s/,/sh/, /ch/ และ /x/ เมื่อเติม -ed แล้ว อ่านออกเสียงเป็น "ถึ" เช่น
 laughedลาฟถึหัวเราะ
 pickedพิคถึเก็บ
 choppedช็อพถึตัด,สับ,หั่น
 decreasedดีครีสถึลดลง
 crashedแครชถึชน,ปะทะ
 hatchedแฮทชถึกก,ฟักไข่
 relaxedรีแล็กซถึผ่อนคลาย
3.คำกริยาที่มีเสียงท้ายนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 เมื่อเติม -ed แล้วให้อ่านออกเสียงเป็น "ดึ" เช่น
 bloomedบลูมดึเบ่งบาน
 stabbedสแต็บดึแทง
 staredสแตร์ดึจ้องมอง
 smiledสไมล์ดึยิ้ม
 signedไซน์ดึเซ็นชื่อ
 

 

ข้อควรสังเกตุ บางครั้งเราจะได้ยินการออกเสียงคำที่เติม ed ในการพูดบางประโยค แต่สงสัยว่าทำไมถึงไม่ออกเสียงตามกฎด้านบน ให้เข้าใจไว้ว่ามีเรื่องคำคุณศัพท์ที่คำศัพท์นั้นพ้องรูปกับกริยา 3 ช่องเลยทำให้ออกเสียงต่างกัน
 

อ่านต่อเพิ่มเติม

ความคิดเห็นในหัวข้อ "หลักการอ่านคำกริยา 3 ช่อง Regular Verbs (ที่เติม -ed)"