ค้นเจอ 28 รายการ

อักโกธะ

หมายถึงน. ความไม่โกรธ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป.).

อักโข

หมายถึงว. มาก, หลาย. (ตัดมาจาก อักโขภิณี).

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

อักษรสมัย

หมายถึง[อักสอนสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ส.).

อักเษาหิณี

หมายถึงน. จำนวนนับอย่างสูง คือ ๑ มีศูนย์ตาม ๔๒ ตัว; กองทัพอินเดียโบราณที่มีกระบวนรบพร้อมมูลตามกำหนด; อักโขภิณี หรือ อักโขเภณี ก็ว่า. (ส.; ป. อกฺโขภิณี).

อักขรวิธี

หมายถึงน. วิธีเขียนและอ่านหนังสือให้ถูกต้อง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยตัวอักษร การอ่าน การเขียน และการใช้ตัวอักษร. (ป.).

อักขรวิบัติ

หมายถึงน. การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.

อักขรสมัย

หมายถึง[อักขะหฺระสะไหฺม] น. วิชาหนังสือว่าด้วยการอ่านการเขียน. (ป.).

อักขรานุกรมภูมิศาสตร์

หมายถึงน. หนังสือสำหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์เรียงลำดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).

อักษรกลาง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

อักษรบฏ

หมายถึง[อักสอระบด] น. แผ่นผ้าที่เขียนสระ พยัญชนะ ใช้ในการเรียนการสอนในสมัยโบราณ, ที่ใช้แผ่นกระดาษติดผ้าหรือแผ่นกระดาษแทนก็มี. (ส.).

อักษรสาส์น

หมายถึง[อักสอระสาน, อักสอนสาด] น. จดหมายของประธานาธิบดีหรือประมุขของประเทศซึ่งมีชื่อเป็นอย่างอื่นที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, เขียนเป็น อักษรสาสน (อ่านว่า อักสอนสาน) ก็ได้.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ