ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ยุทธการ, พุทธชาด

พุทธกาล

หมายถึงน. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย ก็ใช้, (ปาก) ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ ๕,๐๐๐ ปี. (ป.).

อาชีวก

หมายถึง[-วก] น. นักบวชนิกายหนึ่งนอกพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล. (ป., ส.).

ฤๅษี

หมายถึงน. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ.

เวฬุวัน

หมายถึงน. ป่าไผ่; ชื่ออารามครั้งพุทธกาลซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้เมืองราชคฤห์.

มคธ

หมายถึง[มะคด] น. ชื่อแคว้นใหญ่ในอินเดียครั้งพุทธกาล ในบัดนี้เรียกว่า พิหาร. (ป., ส.).

เดียรถีย์

หมายถึง[-ระถี] น. นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยพุทธกาล. (ส. ตีรฺถิย; ป. ติตฺถิย).

ฤษี

หมายถึง[รึ-] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).

มัชฌิมชนบท

หมายถึงน. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.

ฤคเวท

หมายถึง[รึกคะเวด] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๑ ของพระเวท ใช้ภาษาสันสกฤตรุ่นเก่าที่สุด ประพันธ์เป็นฉันท์ มีอายุประมาณ ๕๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ ปีก่อนพุทธกาล, อิรุพเพท ก็ว่า. (ส.; ป. อิรุพฺเพท). (ดู เวท, เวท- ประกอบ).

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เวท-

หมายถึง[เวทะ-] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ