ค้นเจอ 12 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา นามไธย, ทินาท, ทะนาน, ทิพา

ทิพ,ทิพ-

หมายถึง[ทิบ, ทิบพะ-] น. สวรรค์, ชั้นฟ้า, เทวโลก; วัน. (ป., ส. ทิว). ว. เป็นของเทวดา เช่น ทิพสมบัติ. (ป. ทิพฺพ; ส. ทิวฺย).

นาถ

หมายถึง[นาด, นาถะ] (แบบ) น. ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง. (ป., ส.).

ทิพจักขุ

หมายถึง[ทิบพะจักขุ] น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพจกฺขุ; ส. ทิพฺยจกฺษุ).

พระนาย

หมายถึงน. คำเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ.

จระลิ่ง,จระลึง

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).

ฉิน

หมายถึง(กลอน) ว. ฉัน, เช่น, คล้าย, เหมือน, เช่น ทิพฉายฉวงฉินฉัตร ใบชรอัดอรชร. (ม. คำหลวง วนประเวสน์).

ทิพย,ทิพย-,ทิพย์

หมายถึง[ทิบพะยะ-, ทิบ] ว. เป็นของเทวดา เช่น อาหารทิพย์, ดีวิเศษอย่างเทวดา เช่น ตาทิพย์ หูทิพย์, ดีวิเศษเหนือปรกติธรรมดา เช่น เนื้อทิพย์, ใช้ว่า ทิพ ก็มี. (ส. ทิวฺย; ป. ทิพฺพ).

ท้าทาย

หมายถึงก. ชวนวิวาท เช่น เพราะเขาว่าท้าทายว่าจะทำอันตรายแก่ท่านไท้บรมนาถราชบิดา. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์); ชวนให้ทดลองความรู้ความสามารถ เช่น ท้าทายปัญญา ท้าทายความสามารถ.

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

สังเวชนียสถาน

หมายถึง[สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ