ค้นเจอ 2,996 รายการ

ยังเลย

หมายถึงใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่านหรือยัง ตอบว่า ยังเลย.

กริยา

หมายถึง[กฺริยา, กะริยา] (ไว) น. คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนาม. (ส. กฺริยา; ป. กิริยา).

อ่าน

หมายถึงก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).

จะ

หมายถึงเป็นคำช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่.

ช่อง

หมายถึงน. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม; โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทำได้.

งูกลืนหาง,งูกินหาง,งูกินหาง

หมายถึงน. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.

อ่านโองการ

หมายถึงก. ประกาศในพิธีพราหมณ์เพื่อสรรเสริญและอัญเชิญเทพเจ้า.

ไทยนับสาม,ไทยนับห้า

หมายถึงน. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับอย่างโบราณ เมื่อจะอ่านต้องนับอ่านตัวที่ ๓ หรือที่ ๕ ฯลฯ ตามชื่อ.

กริยานุเคราะห์

หมายถึง(ไว) น. กริยาที่ใช้ช่วยกริยาอื่น เช่น คง จะ ถูก น่า, กริยาช่วย ก็ว่า.

พระพุทธองค์

หมายถึงส. คำเรียกพระพุทธเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

ข้าม,ข้าม,ข้าม ๆ

หมายถึงว. เลยลำดับ, ไม่เป็นไปตามลำดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.

เป็น

หมายถึงก. คำกริยาสำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำกับคำเพื่อให้เห็นว่าคำหน้าและคำหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ