ค้นเจอ 121 รายการ

สำรับ

หมายถึงน. ของหรือคนที่รวมกันเข้าได้ไม่ผิดหมู่ผิดพวกเป็นชุดเป็นวงเป็นต้น เช่น ไพ่ ๒ สำรับ พระพิธีธรรม ๑ สำรับ มี ๔ รูป นักสวดคฤหัสถ์ ๑ สำรับ มี ๔ คน, ภาชนะเช่นถาดเป็นต้นใส่ถ้วยชามพร้อมบรรจุอาหารคาวหรือหวานเป็นชุด เช่น สำรับคาว สำรับหวาน.

รับ

หมายถึงก. ยื่นมือออกถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งให้ เช่น รับของ รับเงิน, ถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่นส่งมาให้ เช่น รับจดหมาย รับพัสดุภัณฑ์, ไปพบ ณ ที่ที่กำหนดเพื่ออำนวยความสะดวกหรือพาไปสู่ที่พัก, ต้อนรับ, เช่น ฉันไปรับเพื่อนที่ดอนเมือง ประชาชนไปรับนายกรัฐมนตรีกลับจากต่างประเทศ, โดยปริยายใช้แก่นามธรรมก็ได้ เช่น รับศีล รับพร; ให้คำตอบที่ไม่ปฏิเสธ เช่น ตอบรับ รับเชิญ, ยอมสารภาพ เช่น รับผิด; ตกลงตาม เช่น รับทำ; คล้องจอง เช่น กลอนรับสัมผัสกัน; เหมาะเจาะ, เหมาะสม, เช่น หมวกรับกับหน้า; ขานตอบ เช่น กู่เรียกแล้วไม่มีคนรับ โทรศัพท์ไม่มีผู้รับ; ต้าน เช่น รับทัพ รับศึก; ต่อเสียง เช่น ลูกคู่ร้องรับต้นบท.

รับแขก

หมายถึงก. ต้อนรับผู้มาหา, โดยปริยายเรียกบุคคลที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ ว่า หน้าตารับแขก.

รับคืน

หมายถึงก. รับเอาสิ่งของที่ซื้อไปคืน โดยคืนเงินให้หรือแลกเปลี่ยนกับของอื่นในราคาตามแต่จะตกลงกัน.

รับงาน

หมายถึงก. รับจ้างทำงานต่าง ๆ เช่น รับงานก่อสร้าง, รับจ้างแสดงการละเล่น เช่น รับงานแสดงดนตรี.

รับซื้อของโจร

หมายถึงก. ซื้อสิ่งของที่ถูกโจรกรรมมา.

รับฟัง

หมายถึงก. รับไว้พิจารณา เช่น ผู้บังคับบัญชารับฟังความเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา.

รับฟังได้

หมายถึงก. รับว่ามีเหตุผลน่าเชื่อถือ, รับว่ามีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้, เช่น เหตุผลที่อ้างมานั้นรับฟังได้.

รับรอง

หมายถึงก. รับประกัน เช่น รับรองว่าเป็นของแท้; ต้อนรับ เช่น รับรองแขกเมือง.

รับศีล

หมายถึงก. ถือศีล, สมาทานศีล.

โรงรับจำนำ

หมายถึงน. สถานที่รับจำนำสิ่งของ, ถ้าเป็นของเทศบาลหรือกรุงเทพมหานคร เรียกว่า สถานธนานุบาล, ถ้าเป็นของกรมประชาสงเคราะห์ เรียกว่า สถานธนานุเคราะห์; (กฎ) สถานที่รับจำนำซึ่งประกอบการรับจำนำสิ่งของเป็นประกันหนี้เงินกู้เป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และหมายความรวมตลอดถึงการรับหรือซื้อสิ่งของโดยจ่ายเงินให้สำหรับสิ่งของนั้นเป็นปรกติธุระ แต่ละรายมีจำนวนเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรงหรือโดยปริยายว่าจะได้ไถ่คืนในภายหลังด้วย.

เลี้ยงรับ

หมายถึงก. เลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการต้อนรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เลี้ยงรับผู้ที่จะมาอยู่ใหม่.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ