ค้นเจอ 147 รายการ

พหูสูต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

พหูสูตร เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สะดุดหู

หมายถึงก. กระทบหูชวนให้อยากฟัง หรือรู้สึกเคลือบแคลงใจเป็นต้น เช่น ได้ยินเสียงเพลงเขมรไทรโยค รู้สึกสะดุดหูทำให้นึกถึงความหลัง ได้ยินเสียงคนพาลพูดแขวะ รู้สึกสะดุดหูทันที.

สืบหูก

หมายถึงก. ต่อหูก คือ เอาด้ายยาวที่จะทอเป็นผืนผ้ามาต่อกับด้ายซัง.

หดหู่

หมายถึงก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรมแล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.

ร้อนหู

หมายถึงก. เดือดร้อนเพราะได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ทำให้ไม่สบายใจ.

ละบองราหู

หมายถึงน. ชื่อโรค ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, กระบองราหู ก็เรียก.

หมวกหูกระต่าย

หมายถึงน. เครื่องสวมศีรษะแบบหนึ่ง ทำด้วยผ้าหรือสักหลาดสีต่าง ๆ รูปทรงกระบอกสั้น ๆ มีแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดขอบหมวกสำหรับปกใบหูทั้ง ๒ ข้าง.

หินฟองเต้าหู้

หมายถึงน. ยิปซัมหรือเกลือจืด.

หู

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่สำหรับฟังเสียง; ส่วนแห่งสิ่งของที่ทำไว้หิ้ว แขวน ร้อย หรือรูดเข้าออก เช่น หูกระทะ หูมุ้ง หูกางเกง หูถุง; สิ่งที่ทำเป็นห่วงหรือเป็นวง ๆ เช่น หูแจว; (ปาก) เรียกส่วนหูฟังและกระบอกพูดของเครื่องรับโทรศัพท์ว่า หูโทรศัพท์.

หู่

หมายถึงก. ยู่เข้า, หดเข้า, ห่อเข้า.

หูกะพง

หมายถึงน. ชื่อเงื่อนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายรูปเลข 8 อาระบิก ใช้ผูกตัวไม้บางตัวในเรือนเครื่องผูกให้ติดกันเป็นต้น.

หูเข้าพรรษา

หมายถึงว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ