ค้นเจอ 13 รายการ

ประชวร

หมายถึง[ปฺระชวน] (ราชา) ก. เจ็บป่วย. (ใช้แก่เจ้านาย). (ส. ปฺรชฺวร).

ปัชชร

หมายถึง[ปัดชอน] (แบบ) ก. ประชวร. (ป.).

เจ็บ

หมายถึงก. ป่วยไข้, ราชาศัพท์ว่า ประชวร; รู้สึกทางกายเมื่อถูกทุบตีหรือเป็นแผลเป็นต้น.

ทรงพระประชวร (พระเจ้าแผ่นดิน) ประชวร (พระราชวงศ์)

หมายถึงเจ็บ

ทรงพระประชวร

หมายถึงป่วย

ทรงพระประชวรพระวาโย

หมายถึงเป็นลม

พระยอด

หมายถึงฝี เช่น ประชวรพระยอด เจ็บเป็นฝี

คชราช

หมายถึง[คดชะราด] น. คุดทะราด เช่น ประชวรพระโรคสำหรับบุรุษกลายเป็นพระโรคคชราช. (พงศ. เลขา).

นาภิ

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

นาภี

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

จุกช่องล้อมวง

หมายถึง(โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาสหรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือ จัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ