ค้นเจอ 4,140 รายการ

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ไซร้

หมายถึง[ไซ้] ว. คำสำหรับเน้นความหมายของคำหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

วังชา

หมายถึงคำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.

สม

หมายถึงใช้ประกอบกับคำกริยาบางคำมีความหมายว่า ร่วมด้วยกัน รวมกัน เช่น สมคิด สมรู้.

ธรรม

หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.

ไสร้

หมายถึง[ไส้] (โบ) ว. ไซร้, คำสำหรับเน้นความหมายของคำหน้า มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น, เช่นนั้น, ทีเดียว.

กลิ่นอาย

หมายถึงน. กลิ่น. (เป็นคำที่มีความหมายซํ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).

หนา

หมายถึงคำประกอบท้ายคำอื่นที่มีความหมายไปในเชิงบังคับหรืออ้อนวอน เช่น อยู่เถิดหนา.

ลูกคำ

หมายถึงน. เรียกคำ ๒ คำเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคำเดิมว่า ลูกคำของคำตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคำของคำ ลูก.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ