ค้นเจอ 64 รายการ

ทัก

หมายถึงก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบหน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตามลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก.

น้ำร้อนปลาเป็น

หมายถึง(สำ) น. คำพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัว แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.

เหาจะกินหัว,เหาจะขึ้นหัว

หมายถึง(สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.

เผลอ

หมายถึง[เผฺลอ] ก. หลงลืมไปชั่วขณะ เช่น เผลอตัว เผลอสติ, เลินเล่อ, ไม่ระวังตัว, เช่น เผลอไปแผล็บเดียว แมวคาบปลาไปกินเสียแล้ว.

โดนดี

หมายถึง(ปาก) คำพูดเชิงประชดประชัน มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ข้อความแวดล้อม (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ระวังเถอะเดี๋ยวโดนดีดอก.

แห่แหน

หมายถึง[-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหนพระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.

กระแอม

หมายถึงก. ทำเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.

อนุบาล

หมายถึงก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวังรักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).

ห้อม

หมายถึงก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม; (โบ) ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓).

ล้วงกระเป๋า

หมายถึงก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วงกระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.

สัญญาณ

หมายถึงน. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็นสัญญาณให้พระลงโบสถ์.

ถนอม

หมายถึง[ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม).

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ