สุภาษิตไทย

สํานวนสุภาษิต

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

หมายถึง จะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก

หมายถึง อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่

พจนานุกรมไทย ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึง:

  1. (สํา) อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่.

 หมายเหตุ

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

 ภาพประกอบ

  • ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ความหมายคืออะไร ใช้ยังไง, สํานวนสุภาษิต ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึง จะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก คำนาม คน ธรรมชาติ ไม้
  • ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ความหมายคืออะไร ใช้ยังไง, สํานวนสุภาษิต ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึง อบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่ ธรรมชาติ ไม้

 สํานวนสุภาษิตที่คล้ายกัน

กระดูกขัดมัน ชี้นกบนปลายไม้ พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น สอนเด็ก สอนง่าย สอนผู้ใหญ่ สอนยาก หญ้าปากคอก เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง โคแก่ชอบกินหญ้าอ่อน ไก่อ่อน ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า ไม้หลักปักเลน ไม้ใกล้ฝั่ง

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก"

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ

 บทความอื่น ๆ จาก "Wordy Guru"