ค้นเจอ 131 รายการ

ไก่เขือก

หมายถึงไก่หัวหน้าฝูง ไก่ตัวที่บอกเวลาขัน เช่น จะขันกก ขันกลาง ขันฮวย ไก่ตัวนี้จะบอก เรียก ไก่เขือก อย่างว่า ไก่เขือกชั้นชมแขกขันเนือง พอดีสูรย์พุ่งมาเมิลแจ้งเมื่อนั้นบาบุญเจ้าศิลป์ชัยมานอก น้ำดอกไม้พรมล้างอาบองค์ (สังข์).

เมิดคำสิเว้า

หมายถึงไม่มีอะไรจะพูด/พูดไม่ออก

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

กระจาบ

หมายถึงชื่อนกตัวเล็กๆชนิดหนึ่ง ขนาดนกกระจอก เรียก นกกระจาบ นกจาบ ก็ว่า อย่างว่า ฝูงนั้นกะทาทองไท้ยูงขัวเขาข่อ จิบจาบจ้อยคณาขุ้มขาบเขียว (สังข์).

กระจิบ

หมายถึงชื่อนกตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ร้องเสียงดังจิ๊บๆ เรียก นกกระจิบ นกจิบ ก็ว่า อย่างว่า อุมลัวเค้ากาในแกกระจอก จิบก่างกี้เจียผ้ายกะแดบดิน (สังข์).

ไข่

หมายถึงอ้วน , อวบ ฟองสัตว์ เรียก ไข่ เช่น ไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นก ไข่ห่าน ไข่เสีย เรียก ไข่ฮ่วน ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวเพราะไม่มีเชื้อ เรียก ไข่เข้า ไข่ด้าน ก็ว่า ไข่ตายโคม เรียก ไข่ฮ้างฮัง.

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

แส่ว

หมายถึง1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี

กบ

หมายถึง1.)ชื่ออักษรที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ. 2.)สัตว์สี่เท้าตัวใหญ่กว่าเขียด อยู่ได้ในน้ำหรือบนบกก็ได้ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งน้ำครึ่งบก เรียก กบ มีหลายชนิด อย่างว่าพี่นี้คนผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้(ผญา) . 3.)เครื่องมือช่างไม้ ทำด้วยเหล็กมีรางทำด้วยไม้ สำหรับใสไม้ให้เรียบ มีหลายชนิด เช่น กบสั้น กบยาว กบฮ่อง เป็นต้น.

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ