ค้นเจอ 156 รายการ

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

ง็อกง็อก

หมายถึงอาการสั่นของคนกลัวหรือคนหนาวมาก เรียก สั่นง็อกง็อก ง็อกง็อกแง็กแง็ก ก็ว่า.

กฎ (ระเบียบ)

หมายถึงประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.

กฎธรรมดา

หมายถึงธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

กองก้นจูดกูด

หมายถึงลักษณะอาการของคนหมอบหัวลงแล้วยกก้นขึ้น

โกกโซก

หมายถึงคนที่มีร่างกายเศร้าหมองเรียก หม่นโกกโซก.

ท้าว

หมายถึงคำแทนใช้นำหน้าเรียกคน

กองอ้วกย้วก

หมายถึงลักษณะคนล้มทรุดตัวลงกองกับพื้น

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

กรองกรอย (ตองตอย)

หมายถึงรุ่มร่าม, รุ่งริ่ง คนที่นุ่งผ้าขาดวิ่น

ขี้อ่ง

หมายถึงหยิ่ง,คนถือตัว,มาดเยอะ,หยิ่งทะนงตน

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ