ค้นเจอ 81 รายการ

คำฮ้าย

หมายถึงความชั่ว

กฎ (จด)

หมายถึงจด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).

ไตรปิฎก

หมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก.

ก๊งโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊งโก๋ะก๊งโก้ย ก๊มโก๋ะ ก็เรียก

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

ค่ำม้อย ๆ

หมายถึงค่ำลงเรื่อย ๆ, ค่อย ๆ มืดลง ๆ

นวังคสัตถุศาสน์

หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัมภูตธรรม เวทัลละ (ป.).

ไคว

หมายถึงโยก คลอน สะเทือน อย่างว่า นับอ่านได้ล้านหนึ่งพลหาญ ฮองอาสาช่วงทางทัพหน้า หมู่หนึ่งฮู้แป่ม้างพะลานท้าวไควคอน เลาลมหลวงออกดังสองก้ำ เค็งเค็งท้อนธุลีแดนดับโลก ขันแป่ม้างตางเจ้าฝ่ายขวา (สังข์).

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

เมิดคำสิเว้า

หมายถึงไม่มีอะไรจะพูด/พูดไม่ออก

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

กง (ดื้อ)

หมายถึงดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ