ค้นเจอ 94 รายการ

มะล่องก่องแก่ง

หมายถึงเป็นคำที่ไม่มีความหมาย เหมือนเป็นคำสร้อยที่แสดงถึงการไร้สาระ ไร้แก่นสาร

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

กระจอบบ้อง

หมายถึงเสียม เสียมขุดมัน เรียก กระจอบบ้อง อย่างว่า นางก็ถือเอายังกระจอบบ้อง เป็นเครื่องต้องขุดหัวมัน (เวส).

ปลาฮากกล้วย

หมายถึงปลาช่อนทราย ชื่อปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะเหมือนรากกล้วย เรียก ปลาฮากกล้วย ปลาฮ่างกล้วย ก็ว่า.

ขี้ไก่เดือน

หมายถึงไส้เดือน ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ชอบกินดินเป็นอาหาร แต่ไม่กินมากเพราะมันกลัวดินจะหมด เรียก ขี้ไก่เดือน ขี้กะเดียน ก็ว่า.

กลอย

หมายถึงชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งจำพวกมัน มีหัวกินได้ หัวดิบมีพิษ คัน ต้องแช่น้ำให้จืดแล้วนึ่งให้สุก กินแทนข้าวได้

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

ไซ

หมายถึง- เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ชนิดหนึ่งเรียก ไซ - ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง ใบยาวแหลมคมเรียก หญ้าไซ. - เสกเป่าด้วยมนต์ เช่น วัวควายเป็นบาดแผล เสกมนต์เป่า เรียก ไซบาดแผล. - คลั่ง บ้าเลือด เช่น วัวควายถูกตี เลือดมันคลั่ง มันจะขวิดเรา เรียก งัวควายไซ.

ไหมคำ

หมายถึงเส้นไหมที่ควบด้วยทองแล่ง มีสีเหมือนทองคำ เรียก ไหมคำ ไหมคำนี้ใช้ปักหมอนสามเหลี่ยม หมอนพิง.

ไฮ

หมายถึง1.) ต้นไทร เรียก ต้นไฮ มีหลายชนิด เช่น ไฮมี้ ไฮหย่อง ไฮคำ ไฮหิน 2.) ทองคำ ทองคำเรียก ไฮ อย่างว่า หลายประเทศเต้ามาเข้าส่วยไฮ (ขุนทึง). 3.) ไร ชื่อสัตว์เล็กๆ ชนิดหนึ่ง จำพวกริ้น ชอบกินเลือดเป็นอาหาร อย่างว่า ยูงยองฮี้นฝูงไฮเฮือดไต่ มันหากมีบ่ไฮ้หาได้คู่เฮือน (ย่า).

กระจอนจูม

หมายถึงตุ้มหูที่ทำเป็นดอกตูมๆ เหมือนดอกงิ้ว เรียก กระจอนจูม อย่างว่า กระจอนจูมสุบเซิดคำกวมเกล้า (ขุนทึง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ