ค้นเจอ 231 รายการ

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

กระ

หมายถึง1.)เต่าทะเลชนิดหนึ่ง หลังเป็นเกร็ดแผ่นโตๆ ซ้อนกันเหมือนกระเบื้องมุงหลังคา. 2.)คนแก่มีจุดตามตัว เรียกตกกระออกหมึก ออกซาง ก็ว่า

เคียดสั่น

หมายถึงโกรธจนตัวสั่น

ก้นกบ

หมายถึงปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่างของคน เรียก ก้นกบ ก้นของกบก็เรียก ก้นกบ.

ไหว้บรรพบุรุษ

หมายถึงทำการไหว้บรรพบุรุษ บรรพบุรุษคือผู้เป็นต้นตระกูลของเรา คือ ทวด ปู่ย่าตายาย พ่อและแม่ การไหว้บรรพบุรุษคือไหว้สายเลือดของเรา เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เรา.

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

ขาเลาะ

หมายถึงคนที่ชอบเที่ยวเตร่ไปเรื่อย ส่วนมากจะใช้กับวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ชอบเตร็ดเตร่ เที่ยวเล่นสนุกสนาน

จังไฮ

หมายถึงจังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).

น้องงัว

หมายถึงส่วนที่เป็นรกของวัว เวลาที่วัวตกลูกหรือคลอดลูก คนอีสานนำมาทำอาหารเมนูหลายหลาย เช่น อ่อม ต้ม ย่าง ลวกจิ้ม ต้มเปื่อย เป็นต้น ถือว่าเป็นเมนูที่หากินได้ยากและมีราคาแพง

น้องวัว

หมายถึงส่วนที่เป็นรกของวัว เวลาที่วัวตกลูกหรือคลอดลูก คนอีสานนำมาทำอาหารเมนูหลายหลาย เช่น อ่อม ต้ม ย่าง ลวกจิ้ม ต้มเปื่อย เป็นต้น ถือว่าเป็นเมนูที่หากินได้ยากและมีราคาแพง

กบ

หมายถึง1.)ชื่ออักษรที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ. 2.)สัตว์สี่เท้าตัวใหญ่กว่าเขียด อยู่ได้ในน้ำหรือบนบกก็ได้ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งน้ำครึ่งบก เรียก กบ มีหลายชนิด อย่างว่าพี่นี้คนผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้(ผญา) . 3.)เครื่องมือช่างไม้ ทำด้วยเหล็กมีรางทำด้วยไม้ สำหรับใสไม้ให้เรียบ มีหลายชนิด เช่น กบสั้น กบยาว กบฮ่อง เป็นต้น.

อาว

หมายถึงน้องชายของพ่อ เรียก อาว อย่างว่า ขอให้อาได้เห็นหน้าอาวยามน้อย (สังข์) เขาพี่น้องเนืองสู้ช่อยอาว (ฮุ่ง). อาว แปลว่า น้องชายของพ่อ ส่วนน้องสาวของพ่อ เรียกว่า อา เหมือนในภาษาไทยกลาง

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ