ค้นเจอ 170 รายการ

แมงกินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงจินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

ฮักปานแตงแพงปานตา

หมายถึงรักมาก หวงมาก สำนวนนี้มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม หรือ แก้วตาดวงใจ ถ้าแปลตรงตัวจะแปลได้ว่า รักเหมือนแตง หวงแหนเหมือนดวงตา

ขี้เหน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบมีกลิ่นเหม็น ผลเมื่อสุกสีช้ำมีรสหวาน รากใช้ทำยาได้ เรียก ต้นขี้เหน.

ไหว้พ่อแม่

หมายถึงทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.

กงหัน

หมายถึงระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

ก้นล่ง

หมายถึงยุงก้นปล่อง ชื่อยุ่งชนิดหนึ่งกินเลือดคนและสัตว์ไม่รู้จักอิ่ม เลือดไหลออกทางก้น เรียก ยุงก้นล่ง ก้นโล่ง ก็ว่า.

ไคล

หมายถึงเหงื่อ เหงื่อที่ปนกับละอองแห้งเกรอะกรังอยู่ตามร่างกาย เรียก ขี้ไคล อย่างว่า พอคราวท้าวสีไคลล้างลูบ แล้วแต่งเนื้อพะเนผ้ายย่างเชิง (สังข์).

กฎกรม

หมายถึงกรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.

งกงก

หมายถึงมีอาการสั่นเช่นคนเห็นเสือกลัวเสือจนตัวสั่นงกงก หรือหนาวมากจนตัวสั่นงกงก เรียก สั่นงกงก.

แม่เย้าแม่เฮือน

หมายถึงหญิงผู้ปกครองเรือนให้คนภายในเรือนอยู่เย็นเป็นสุข มีความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เรียก แม่เย้าแม่เฮือน แม่ย้าว ก็ว่า.

กระ

หมายถึง1.)เต่าทะเลชนิดหนึ่ง หลังเป็นเกร็ดแผ่นโตๆ ซ้อนกันเหมือนกระเบื้องมุงหลังคา. 2.)คนแก่มีจุดตามตัว เรียกตกกระออกหมึก ออกซาง ก็ว่า

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ