ค้นเจอ 24 รายการ

อวิหิงสา

หมายถึงน. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม).

ทมะ

หมายถึง[ทะ-] (แบบ) น. การข่มใจ, การทรมาน, การฝึกตน; อาชญา, การปรับไหม. (ป., ส.).

โทษกรณ์

หมายถึง[โทดสะกอน] (กลอน) น. โทษ, อาชญา, เช่น รู้สึกซึ่งโทษกรณ์ ตนผิด. (นิทราชาคริต).

ประทุษ

หมายถึง[ปฺระทุด] ก. ทำร้าย, ทำชั่ว, ทำเลวทราม, ทำผิด, เบียดเบียน. (ส.).

ย่ำยี

หมายถึงก. เบียดเบียน เช่น ย่ำยีศาสนา, บีบคั้น, ข่มเหง, เช่น ย่ำยีจิตใจ, บดขยี้ เช่น ยกกองทัพไปย่ำยีประเทศอื่น.

หิงสา

หมายถึงน. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

กระเสียน,-กระเสียน

หมายถึง(โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).

หึงส,หึงส-,หึงสา

หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

กรรมกรณ์

หมายถึง[กำมะกอน] น. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา. ก. ลงโทษ เช่น สามซ้ำควรกรรมกรณ์ นุกิจราชอาชญา. (กฤษณา). (ส. กรฺม + กรณ = การกระทำ; ป. กมฺม + กรณ).

เบียน

หมายถึงก. รบกวน, ทำให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบียด เป็น เบียดเบียน; (โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกินอาหารว่า ตัวเบียน.

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

ราชธรรม

หมายถึงน. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน-การให้ ๒. ศีล-ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ-การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ-ความซื่อตรง ๕. มัททวะ-ความอ่อนโยน ๖. ตปะ-ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ-ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา-ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ-ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ-ความไม่คลาดธรรม. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ