ค้นเจอ 569 รายการ

กระเหลียก

หมายถึง[-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).

ข้าวต้มลูกโยน

หมายถึงน. ข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิใส่เกลือ น้ำตาล ห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยไว้หางยาว แล้วต้มให้สุก.

คลอแคล

หมายถึง[-แคฺล] ก. ไม่ห่างออก, เคียงกัน, เช่น ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล ตัวแม่จะสอนบิน. (กล่อมเด็ก), ใช้ว่า คล้อแคล้ ก็มี.

สร้อย

หมายถึง[ส้อย] น. ขนคอสัตว์ เช่น สร้อยคอไก่ สร้อยคอสิงโต; เครื่องประดับที่ทำเป็นเส้น เช่น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ, สายสร้อย ก็เรียก.

เพ้ย

หมายถึงว. คำขับไล่ที่เปล่งเสียงแรง ๆ ให้สัตว์เช่นไก่หนีไป; คำรับในเวลาพากย์โขน คนรับร้องเพ้ย. ก. ตะเพิด เช่น ถูกเพ้ย.

ต๊อก

หมายถึงน. ชื่อไก่ชนิด Numida meleagris ในวงศ์ Numididae ตัวสีเทาลายขาว เหนียงสีแดง มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา.

เพลีย

หมายถึงก. อ่อนแรง, ถอยกำลัง, มีอาการเมื่อยล้า เช่น เดินจนเพลีย ทำงานมาก ๆ รู้สึกเพลีย.

ส้มเหม็น

หมายถึงส้มเขียวหวานอ่อน ที่ปกติแล้วหากส้มเขียวหวานเป็นลูกดก ชาวสวนต้องทำการเด็ดลูกที่อ่อนบางส่วนทิ้งเพื่อให้เหลือจำนวนหมาะสมที่จะโตสวย บางส่วนก็ทิ้งลงร่องน้ำปล่อยเป็นปุ๋ยไป แต่ก็มีบางส่วนนำมาปรุงอาหารที่ออกรสเปรี้ยวเพื่อไม่ให้เสียเปล่า

ขม่อม

หมายถึง[ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.

ละบองราหู

หมายถึงน. ชื่อโรค ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นเม็ดที่เด็กอ่อน, กระบองราหู ก็เรียก.

คลัก

หมายถึง[คฺลัก] น. ตาที่จะสุก (ใช้แก่การเล่นดวด); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่ที่ไก่หรือนกเขี่ยเป็นหลุม แล้วนอนในหลุมนั้น, ที่ที่ปลามารวมกันอยู่ในบ่อหรือหนองที่น้ำงวด.

มึน

หมายถึงก. เมาอ่อน ๆ, รู้สึกวิงเวียน เช่น มึนศีรษะ, รู้สึกตื้อในสมอง เช่น อ่านหนังสือมากชักมึน, มึนหัว ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ