ค้นเจอ 146 รายการ

ศาสนจักร

หมายถึง[สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อำนาจปกครองทางศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่ายคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางบ้านเมือง.

เอี้ยง

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Sturnidae รูปร่างอ้วนป้อม หางสั้น กินแมลงและผลไม้ อยู่รวมกันเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น เอี้ยงสาริกา หรือ สาลิกา (Acridotheres tristis) เอี้ยงหงอน (A. javanicus) เอี้ยงหัวสีทอง (Ampeliceps coronatus) เอี้ยงดำปักษ์ใต้ (Aplonis panayensis).

เสื่อผืนหมอนใบ

หมายถึงน. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้; โดยปริยายหมายถึงมีสมบัติติดตัวเพียงเล็กน้อย แต่มีวิริยอุตสาหะแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้.

เฉลิมพระชนมพรรษา

หมายถึง[ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา] น. เรียกวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา.

ปอ

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เปลือกใช้ทำปอ เช่น ปอกระเจา (Corchorus capsularis L. และ C. olitorius L.) ในวงศ์ Tiliaceae, ปอกระสา [Broussonetia papyrifera (L.) Vent.] ในวงศ์ Moraceae, ปอแก้ว (Hibiscus cannabinus L.) ในวงศ์ Malvaceae, ปอสำโรง (Sterculia foetida L.) ในวงศ์ Sterculiaceae.

สาลิกา

หมายถึงน. ชื่อนกชนิด Acridotheres tristis ในวงศ์ Sturnidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกิ้งโครง ลำตัวสีนํ้าตาลเข้ม หัวสีดำ ขอบตาและปากสีเหลือง มีแต้มขาวที่ปีก ปลายหางสีขาว กินแมลงและผลไม้ พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย, เอี้ยง หรือ เอี้ยงสาริกา ก็เรียก. (ป.; ส. ศาริกา).

ศาสน,ศาสน-,ศาสนา

หมายถึง[สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คำสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).

สาสน,สาสน-,สาสน์,สาส์น

หมายถึง[สาน, สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาด, สาน] น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, เช่น สาสนธรรม; จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ, ถ้าเป็นจดหมายของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชสาส์น, เขียนเป็น พระราชสาสน หรือ พระราชสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของประธานาธิบดี เรียกว่า อักษรสาส์น, เขียนเป็น อักษรสาสน หรือ อักษรสาสน์ ก็ได้, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราช เรียกว่า สมณสาสน์, ถ้าเป็นจดหมายของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า เรียกว่า พระสมณสาสน์. (ป.).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

วัสสานฤดู

หมายถึง[วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อนอันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้นวันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, บางทีก็เขียนเพี้ยนไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).

สังเวชนียสถาน

หมายถึง[สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.

ศิลปศาสตร์

หมายถึงน. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทางอาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ ๑. สูติ วิชาฟังเสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชาเข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกา วิชากายบริหาร ๙. ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชาดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ