ค้นเจอ 101 รายการ

ธร

หมายถึง[ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).

เบญจ,เบญจ-,เบญจะ

หมายถึง[เบนจะ-] ว. ห้า, ลำดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ มาตรา ... เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

ปโย,ปโย-

หมายถึงน. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มีพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เปกข์,-เปกข์

หมายถึงน. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).

จุล,จุล-

หมายถึง[จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).

อนุกรม

หมายถึง[อะนุกฺรม] น. ลำดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).

นร,นร-

หมายถึง[นอระ-] น. คน, ชาย, เพศหญิงใช้ว่า นรี หรือ นารี, นิยมใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น นรเทพ นรสิงห์. (ป., ส.).

มนตรี

หมายถึงน. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).

หัส,หัส-

หมายถึง[หัด, หัดสะ-] น. การหัวเราะ; การรื่นเริง, ใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น หัสดนตรี หัสนาฏกรรม หัสนิยาย. (ป. หสฺส; ส. หรฺษ).

อันดร

หมายถึง[-ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคำอื่น เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).

เทศ,เทศ-,เทศะ

หมายถึง[เทด, เทดสะ-, เทสะ] ว. ต่างประเทศ เช่น เครื่องเทศ ม้าเทศ. น. ถิ่นที่, ท้องถิ่น, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

พลว,พลว-

หมายถึง[พะละวะ-] ว. มีกำลัง, แข็งแรง, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น พลวเหตุ คือ เหตุแข็งแรง เหตุที่มีกำลังกล้า. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ