ค้นเจอ 46 รายการ

สัปปุริส,สัปปุริส-,สัปปุรุษ

หมายถึง[สับปุริสะ-, สับปุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม. (ป. สปฺปุริส; ส. สตฺปุรุษ).

นับถือ

หมายถึงก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลักผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคำลงท้ายจดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.

สัตตาหกรณียะ

หมายถึง[สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.

เชน

หมายถึงน. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพร และ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและมังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. (ส. ไชน).

ประเทศ

หมายถึงน. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอำนาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็นระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.

ความรู้สึกด้อย

หมายถึง(จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).

ถือ

หมายถึงก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดำรงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคลหรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคำว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.

กระสัน

หมายถึงก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.

ทาส,ทาส-

หมายถึง[ทาด, ทาดสะ-] น. ผู้ที่อุทิศตนแก่สิ่งที่เลื่อมใสศรัทธา เช่น เป็นทาสความรู้, ผู้ที่ยอมตนให้ตกอยู่ในอำนาจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เป็นทาสการพนัน เป็นทาสยาเสพติด เป็นทาสความรัก เป็นทาสเงิน; บ่าวทั่วไป, ผู้ที่ขายตัวลงเป็นคนรับใช้หรือที่นายเงินไถ่ค่าตัวมา เรียกว่า ทาสนํ้าเงิน, ผู้ที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงิน เรียกว่า ทาสเรือนเบี้ย หรือ ทาสในเรือนเบี้ย, ทาสที่เอาเงินไปซื้อมา เรียกว่า ทาสสินไถ่, ผู้ที่เป็นคนเชลย เรียกว่า ทาสเชลย, ถ้าใช้คู่กันว่า ทาสทาสี ก็หมายความว่า ทาส เป็นบ่าวผู้ชาย และ ทาสี เป็นบ่าวผู้หญิง. (ป., ส.).

ผูก

หมายถึงก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่น ผูกเวร; ตรงข้ามกับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ