ค้นเจอ 43 รายการ

ไข่เน่า

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้.

กระต่ายจาม

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centipeda minima (L.) A. Br. et Aschers ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ลุ่มตํ่า แฉะ ต้นเตี้ยติดดินคล้ายต้นผักเบี้ย ใบเล็กเว้าข้างทั้ง ๒ ด้าน ปลายใบแหลมคล้ายสามง่าม ใบมีกลิ่นเหม็น ใช้ทำยาได้ แต่เป็นพิษต่อปศุสัตว์, กระต่ายจันทร์ สาบแร้ง หญ้ากระจาม หญ้าจาม หรือ เหมือดโลด ก็เรียก. (๒) ดู การบูรป่า

รากกล้วย

หมายถึงน. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymoneri และชนิด G. pennocki ในวงศ์ Gyrinocheilidae มีหัวยาว ลำตัวยาวเพรียว ที่สำคัญคือมีปากซึ่งใช้ดูดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำได้ดี ไม่มีหนวด พื้นลำตัวสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว พบทั่วไปตามลำธาร บนภูเขา และที่ลุ่ม กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, ผึ้ง น้ำผึ้ง ลูกผึ้ง หรือ สร้อยน้ำผึ้ง ก็เรียก.

กระเจา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียวมีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิดนี้มีพิษ ปอใช้ทำกระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).

กว่าง

หมายถึง[กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอกยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่า แมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน.

ภาษา

หมายถึงน. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ; (โบ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา. (พงศ. ร. ๓); (คอม) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา; โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน, เช่น ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา เขียนไม่เป็นภาษา ทำงานไม่เป็นภาษา.

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ