ค้นเจอ 208 รายการ

บาตร

หมายถึง[บาด] น. ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต. (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).

สังฆทาน

หมายถึงน. ทานที่ทายกถวายแก่สงฆ์หรือภิกษุโดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง, คู่กับ บุคลิกทาน. (ป.).

อยู่กรรม,อยู่ปริวาส

หมายถึงก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า.

กัปปิยการก

หมายถึง[-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.

กัปปีย์

หมายถึง[กับปี] (ปาก) น. กับข้าว (ใช้เฉพาะภิกษุสามเณร), มักใช้เข้าคู่กับคำ จังหัน ว่า กัปปีย์จังหัน.

อุปสัมปทา

หมายถึง[อุปะสำปะทา, อุบปะสำปะทา] น. การบวชเป็นภิกษุ. (ป., ส.).

ให้ศีล

หมายถึงก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคนควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.

สังฆเภท

หมายถึง[-เพด] น. การที่ภิกษุทำให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป, นับเป็นอนันตริยกรรมอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕. (ป.).

อาสน,อาสน-,อาสน-,อาสน์,อาสนะ

หมายถึง[อาดสะนะ-, อาด] น. ที่นั่ง, เครื่องปูรองนั่ง, (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร). (ป., ส.).

ขรัว

หมายถึง[ขฺรัว] น. คำเรียกภิกษุที่มีอายุมาก หรือที่บวชเมื่อแก่ หรือฆราวาสผู้เฒ่า. ว. เรียกคนที่มั่งมีว่า เจ้าขรัว.

คมิกภัต

หมายถึง[คะมิกะ-] น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง. (ป. คมิกภตฺต).

นิยัตินิยม

หมายถึง[นิยัดติ-] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทำทุกอย่างของมนุษย์หรือเหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ