ค้นเจอ 208 รายการ

บริขาร

หมายถึง[บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).

ตื่น

หมายถึงก. ฟื้นจากหลับ เช่น ตื่นนอน, ไม่หลับ เช่น ตื่นอยู่; แสดงอาการผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ เป็นต้น เช่น วัวตื่น ควายตื่น ตื่นเวที ตื่นยศ ตื่นไฟ; รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในคำว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตื่นแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า รู้เท่าทัน, รู้ตัวขึ้น.

ปวารณา

หมายถึง[ปะวาระนา] ก. ยอมให้ภิกษุสามเณรขอหรือเรียกร้องเอาได้ เช่น ขอของจากผู้ปวารณา ใบปวารณา; บอกยอมให้ใช้ได้ด้วยความเต็มใจ เช่น ขอปวารณาจะใช้อะไรก็บอก; พิธีกรรมทางศาสนายอมให้สงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันออกพรรษา, เรียกวันออกพรรษาว่า วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา. (ป.).

บุริมพรรษา

หมายถึง[บุริมมะพันสา, บุริมพันสา] น. “พรรษาต้น”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาต้น คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, ปุริมพรรษา ก็ว่า, คู่กับ ปัจฉิมพรรษา. (ป. ปุริม + ส. วรฺษ).

กระวิน

หมายถึงน. ห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับช้าง, ห่วงติดกับบังเหียนเหล็กผ่าปากม้า, ประวิน ก็ใช้. (ประวัติ. จุล), เครื่องร้อยสายรัดเอวพระภิกษุ (รัดประคด) ทำด้วยกระดูกสัตว์เป็นต้น มีรูกลาง เรียกว่า ลูกกระวิน.

พฤหัสบดี

หมายถึง[พฺรึหัดสะบอดี, พะรึหัดสะบอดี] น. (โหร) เทพที่เป็นครูของเทวดาทั้งหลาย; (ดารา) ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๕ และเป็นดวงที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๗๗๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๑๔๒,๘๐๐ กิโลเมตร; ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. (ส. วฺฤหสฺปติ; ป. วิหปฺปติ).

ธาตุ,ธาตุ,ธาตุ-

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-, ทาดตุ-] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).

นิวคลิอิก

หมายถึงน. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี ๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).

มองคร่อ

หมายถึง[-คฺร่อ] น. โรคหลอดลมโป่งพอง มีเสมหะแห้งอยู่ในช่องหลอดลม ทำให้มีอาการไอเรื้อรัง ห้ามผู้ที่เป็นโรคนี้บวชเป็นภิกษุ. (อ. bronchiectasis); โรคทางเดินหายใจในสัตว์กีบเดียววงศ์ Equidae มีอาการไข้สูง เป็นฝีที่ต่อมน้ำเหลืองใต้คางและบริเวณคอหอย อาจติดต่อถึงคนได้, เขียนเป็น มงคล่อ ก็มี. (อ. strangles).

หลวง

หมายถึงว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คำเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คำเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.

อินทราภิเษก

หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ