ค้นเจอ 208 รายการ

รง

หมายถึงน. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยางสีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยาและเขียนหนังสือหรือระบายสี รงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัวหนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.

กามภพ

หมายถึงน. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).

นิมมานรดี

หมายถึง[นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).

ไส้

หมายถึงน. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปขดมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึมอาหารและนํ้า พักและขับถ่ายกากอาหาร, ลำไส้ ก็เรียก; เรียกของที่อยู่ข้างในซึ่งมีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไส้ตะเกียง หรือที่ใส่ข้างใน เช่น ไส้ขนม ไส้ดินสอ; โดยปริยายหมายความว่า ความลับ เช่น สาวไส้ให้กากิน รู้ไส้; คนในครอบครัว, คนภายใน, คนใกล้ชิด, เช่น เห็นขี้ดีกว่าไส้ ไส้เป็นหนอน.

แฮนด์บอล

หมายถึงน. ชื่อกีฬาอย่างหนึ่ง คล้ายฟุตบอล แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๗ คน รวมทั้งผู้รักษาประตู ผู้เล่นแต่ละฝ่ายใช้วิธีขว้างหรือปาลูกบอลแทนการเตะ; ในกติกาในกีฬาฟุตบอล ถ้าลูกบอลถูกมือผู้เล่นนอกจากผู้รักษาประตู ถือว่าเป็นการผิดกติกา เรียกว่า เป็นแฮนด์บอล จะต้องถูกลงโทษโดยให้อีกฝ่ายหนึ่งเตะกินเปล่าหรือเตะลูกโทษ. (อ. handball).

กษีณาศรพ

หมายถึง[กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อักษรกลาง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ครบ ๔ รูป ๕ เสียง มีรูปวรรณยุกต์กับเสียงวรรณยุกต์ตรงกัน เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า คำตายมีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันได้ ๔ เสียง มี ๓ รูป คือ พื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น จะ จ้ะ จ๊ะ จ๋ะ มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ.

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

นิ้ว

หมายถึงน. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลำดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต.

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ