ค้นเจอ 71 รายการ

กระแหนะ

หมายถึง[-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า.

ผัด

หมายถึงก. เอาสิ่งที่ใช้เป็นอาหารใส่ลงในกระทะที่มีนํ้ามันหรือนํ้าเล็กน้อย ตั้งไฟแล้วพลิกกลับไปมาจนสุก เช่น ผัดข้าว ผัดหมี่, เรียกอาหารที่ทำด้วยวิธีการเช่นนั้น เช่น ข้าวผัด หมี่ผัด; ย้ายไปย้ายมา, หมุนไปมา, ล่อให้ไล่; ขอเลื่อนเวลาไป เช่น ผัดวัน ผัดหนี้; เอาแป้งลูบที่หน้าเพื่อให้นวล เช่น ผัดหน้า.

ทหารกองเกิน

หมายถึง(กฎ) น. ชายที่มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน หรือผู้ที่มีอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ และยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอพร้อมกับคนชั้นปีเดียวกันเพราะเหตุใด ๆ ก็ดี ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามหลักเกณฑ์ วิธีการและแบบที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว.

ให้ออก

หมายถึง(กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญ (๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญ ให้ออกเมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.

ติดตา

หมายถึงน. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ด้วยการแซะตาของต้นที่ต้องการขยายพันธุ์ไปติดที่ต้นหรือกิ่งของอีกต้นหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยกรีดเปลือกตรงที่ต้องการจะนำตาไปติดให้เผยออก สอดตาให้แนบกับเนื้อไม้ ใช้แถบพลาสติกพันให้แน่นเว้นเฉพาะส่วนที่เป็นตา. ก. ยังรู้สึกนึกเห็นภาพอยู่ไม่รู้เลือน; ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเช่นนั้น.

ทะแยกลองโยน

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.

ตกเขียว

หมายถึงน. วิธีการที่นายทุนให้เงินแก่ชาวนาหรือชาวไร่กู้เมื่อข้าวในนาลัดใบหรือลำไยมีลูกขนาดหัวแมลงวันแล้ว โดยตกลงกันว่าชาวนาชาวไร่จะให้ข้าวเปลือกหรือลำไยแก่นายทุนแทนเงินหลังจากนวดข้าวแล้วหรือหลังจากเก็บลำไยได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงการที่พ่อแม่รับเงินจากนายทุนซึ่งจ่ายให้เป็นค่าตัวเด็กผู้หญิงซึ่งยังเรียนหนังสือไม่จบไว้ล่วงหน้า เมื่อเรียนจบแล้วนายทุนจะมารับตัวเด็กไปเพื่อค้าประเวณีเป็นการใช้หนี้คืนให้แก่นายทุน.

สัก

หมายถึงก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น.

ตอน

หมายถึงน. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้าสายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้ว ตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.

ไม้หึ่ง

หมายถึงน. ชื่อการเล่นซึ่งประกอบด้วยไม้แม่หึ่งยาวประมาณศอกคืบ ๑ อัน และลูกหึ่งยาวประมาณ ๑ คืบ ๑ อัน โดยแบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๓-๕ คน ฝ่ายหนึ่งจะเอาลูกหึ่งวางขวางบนหลุมซึ่งขุดเป็นรางยาวประมาณ ๑ คืบ เรียกว่า รางไม้หึ่ง แล้วใช้ไม้แม่หึ่งปักปลายลงในราง งัดลูกหึ่งออกไปให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ เมื่อฝ่ายรับรับลูกหึ่งได้ก็จะมาเป็นฝ่ายส่งบ้าง แต่ถ้าฝ่ายรับรับลูกไม่ได้ก็จะต้องวิ่งร้องหึ่งมาที่หลุม ในแต่ละถิ่นมีวิธีการเล่นต่าง ๆ กัน.

ค่าจ้าง

หมายถึง(กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ