ค้นเจอ 79 รายการ

กาสัก

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Leea macrophylla Roxb. ex Hornem. ในวงศ์ Leeaceae ใบใหญ่ ใช้ทำยาได้, พญากาสัก เสือนั่งร่ม หรือ ตาลปัตรฤๅษี ก็เรียก.

ขับซอ

หมายถึง(ถิ่น) ก. ร้องเพลงโดยมีดนตรีประกอบ เช่น ขับซอยอยศอ้าง ฦๅลูกกษัตริย์เจ้าช้าง ชื่นแท้ใครเทียมเทียบนา. (ลอ).

บรรณศาลา

หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).

ตรึก

หมายถึง[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).

กำธร

หมายถึง[-ทอน] ว. สนั่น, หวั่นไหว, สะเทือน, เช่น เสียงเทพอวยอาศิรวาท กำธรอากาศ ฦๅเลวงไชยไชย. (สมุทรโฆษ). (เทียบ ข. กํทร ว่า บรรลือเสียง, ตีรัว).

กรินทร์

หมายถึงน. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

จอด

หมายถึงก. หยุดอยู่หรือทำให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).

สร้อย

หมายถึง[ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญาสุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.

เข้าลิลิต

หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."

จระกล้าย

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).

แววตา

หมายถึงน. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่ารักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชัง ใบหน้าและแววตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรักประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ