ค้นเจอ 449 รายการ

ดัดแปลง

หมายถึง[-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน นํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือการดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง; ทำซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.

ตละ

หมายถึง[ตะละ] น. พื้น, ชั้น. (ป.).

ตังเก

หมายถึงน. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล ทางด้านค่อนมาทางหัวเรือมีเก๋ง ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ติดตั้งเครื่องยนต์ ชั้นบนเป็นที่สำหรับผู้ควบคุมเรือใช้ดูทิศทาง มีเสากระโดง บนเสากระโดงมีแป้นกลมสำหรับคนขึ้นไปยืนสังเกตการณ์ เรียกว่า รังกา ด้านท้ายเรือมีที่สำหรับโรยอวน และด้านหัวเรือมีที่สำหรับกว้านอวน.

มรรค-

หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

ทะแย

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยโบราณทำนองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.

นิมมานรดี

หมายถึง[นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

แบบ

หมายถึงน. สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตำรา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้นให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตองซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัดกลัดไว้ สำหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็นรูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็นดอกไม้ประดิษฐ์.

แว่นฟ้า

หมายถึงน. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่นแว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือกระจกเป็นต้น ใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะจำหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.

สัตบริภัณฑ์,สัตภัณฑ์,สัตภัณฑ์

หมายถึง[สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้นมีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).

สารถีชักรถ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา.(ฟ้อน).; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

เสาโตงเตง

หมายถึงน. เสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออก, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, โตงเตง ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ