ค้นเจอ 142 รายการ

ธรรมจาคะ

หมายถึงน. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).

ปึ่ง

หมายถึงว. ทำท่าไว้ยศไม่อยากพูดจาด้วย; ทำทีเฉยแสดงอาการคล้ายกับโกรธ, ปึ่งชา ก็ว่า.

เหลวไหล

หมายถึงว. ไม่เป็นสาระ เช่น พูดแต่เรื่องเหลวไหล, เลอะเทอะ เช่น เป็นคนเหลวไหล, เชื่อถือไม่ได้ เช่น พูดจาเหลวไหล.

พกลม

หมายถึงว. มีแต่ลม คือ เหลวไหล, พูดจาไม่จริง, ใช้เข้าคู่กับคำ โกหก เป็น โกหกพกลม.

ล่อแหลม

หมายถึงว. หมิ่นเหม่, อยู่ในที่ใกล้อันตราย, เช่น แต่งตัวล่อแหลม พูดจาล่อแหลม ความประพฤติล่อแหลมต่อคุกตะราง.

สังสนทนา,สั่งสนทนา

หมายถึงก. พูดกันฐานกันเอง, พูดจาหารือกัน, มักใช้ สั่งสนทนา. (ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียงกัน).

ลดเลี้ยว

หมายถึงก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.

เลี้ยวลด

หมายถึงก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า.

ศัพท์แสง

หมายถึง(ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่นศัพท์แสง ฟังไม่รู้เรื่อง.

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

หมายถึง(สำ) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.

อาจาร,อาจาร-

หมายถึง[-จาน, -จาระ-] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).

ขจ่าง

หมายถึง[ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจำรัสศรี. (สรรพสิทธิ์).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ