ค้นเจอ 243 รายการ

บรรทัดฐาน

หมายถึงน. แบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ; เหตุที่ตั้งเป็นเครื่องถึง, เหตุอันใกล้ที่สุด; ปทัสถาน หรือ ปทัฏฐาน ก็ว่า.

หัวล้านนอกครู

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา.

ปเวณี

หมายถึง[ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากันตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).

พจนานุกรม

หมายถึง[-กฺรม] น. หนังสือว่าด้วยถ้อยคำในภาษาใดภาษาหนึ่ง เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยทั่ว ๆ ไปจะบอกความหมายและที่มาของคำเป็นต้นด้วย.

คำเมือง

หมายถึงน. ภาษาถิ่นของคนในถิ่นพายัพของประเทศไทย.

แคะ

หมายถึงน. ชาวจีนพวกหนึ่งในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน เรียกว่า จีนแคะ, เรียกภาษาของชาวจีนพวกนี้ว่า ภาษาแคะ.

ทำเนียบ

หมายถึงก. เทียบ, เปรียบ. น. การลำดับตำแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบสมณศักดิ์ ทำเนียบราชการ, การแบ่งประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทำเนียบช้าง ทำเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).

เข้าตาจน

หมายถึงก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก).

ส่งภาษา

หมายถึงก. เจรจาปราศรัยกับผู้ที่พูดอีกภาษาหนึ่ง โดยกล่าวคำเป็นภาษานั้น เช่น ให้ล่ามไปส่งภาษาถามเขาดูว่าต้องการอะไร; พูดเป็นภาษาอื่นหรือสำเนียงอื่นที่ตนฟังไม่เข้าใจ เช่น เขาส่งภาษาจีนกัน เขาส่งภาษาถิ่นมาเลยฟังไม่รู้เรื่อง.

อาจาร,อาจาร-

หมายถึง[-จาน, -จาระ-] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).

รีต

หมายถึงน. เยี่ยงอย่าง, แบบแผน, ประเพณี, เช่น นอกรีต. (เทียบ ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).

สัทวิทยา

หมายถึง[สัดทะวิดทะยา] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาระบบเสียงของแต่ละภาษาโดยพิจารณาหน้าที่ของเสียงและการประกอบเสียงในภาษานั้น. (อ. phonology).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ