ค้นเจอ 22 รายการ

กุกุธภัณฑ์

หมายถึง[กุกุดทะ-] (โบ) น. กกุธภัณฑ์.

กุฏฐัง

หมายถึงน. โรคเรื้อนซึ่งทำให้อวัยวะเช่นมือและเท้ากุดเหี้ยนไป. (ป.).

มกุฎ

หมายถึง[มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).

กุศราช

หมายถึง[กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง. (สังข์ทอง).

กุศโลบาย

หมายถึง[กุสะ-, กุดสะ-] น. อุบายอันแยบคาย. (ส. กุศล + อุปาย).

มกุฎราชกุมาร

หมายถึง[มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.

เสนากุฎ

หมายถึง[เส-นากุด] น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสี รูปสิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สำหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวง.

เรื้อน

หมายถึงน. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขื้เรื้อนกุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทำให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตามบริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทำให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.

กระทง

หมายถึงน. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยนํ้าในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะเหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิในกฎหมายเก่า.

กกุธภัณฑ์

หมายถึง[กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดีตามที่แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ