ค้นเจอ 935 รายการ

ตุ้บ,ตุ้บ ๆ

หมายถึงว. เสียงดังอย่างของหนัก ๆ หล่น หรือเสียงทุบด้วยกำปั้น.

โห่

หมายถึงอ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนำเพื่อแสดงความพร้อมเพรียงในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทำเสียงเช่นนั้น; โดยปริยายหมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.

เสียงอ่อนเสียงหวาน

หมายถึงน. น้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง, น้ำเสียงที่แสร้งดัดให้เบา ช้าลง และไพเราะน่าฟัง เพื่อประจบเป็นต้น.

มีชื่อ,มีชื่อเสียง

หมายถึงว. มีเกียรติยศชื่อเสียง.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ซะซิบ

หมายถึง(กลอน) ว. เสียงเช่นเสียงนกเล็ก ๆ ร้อง.

เรอ

หมายถึงก. อาการที่ลมในกระเพาะพุ่งออกทางปาก มักมีเสียงดังออกมาด้วย.

เสียงแปร่งหู

หมายถึงน. เสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไปจากปรกติ เนื่องจากมีอารมณ์ไม่พอใจแฝงอยู่.

ส่าย

หมายถึงว. เสียงอย่างเสียงที่เกิดจากผ้าแพรเนื้อหนาแข็งเสียดสีกัน เช่น ได้ยินเสียงแพรส่าย.

วิรวะ,วิราวะ

หมายถึง[วิระ-] น. การร้อง, การเปล่งเสียง, การตะโกน; เสียงเกรียวกราว, เสียงเรียกร้อง. (ป., ส.).

พลุ

หมายถึง[พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อจุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิงอย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.

กริบ

หมายถึง[กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือมีเสียงเช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและแนบเนียนด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ; โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ