ค้นเจอ 173 รายการ

มรรคา

หมายถึง[มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มี

หมายถึงว. รวย เช่น เขาเป็นคนมี ไม่ใช่คนจน, ไม่เปล่า, ไม่ว่าง, เช่น ในหม้อมีข้าว ในห้องน้ำมีคน. ก. ถือเป็นเจ้าของ, อยู่ในครอบครอง, เช่น มีเงิน มีลูก, ประกอบด้วย เช่น อริยสัจ ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค, ปรากฏ เช่น มีดาวหางขึ้นในท้องฟ้า, เกิด เช่น มีโรคระบาด, คงอยู่ เช่น มีคนอยู่ไหม.

กรุณา

หมายถึง[กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).

สุม

หมายถึงก. วางทับซ้อน ๆ กันลงไปจนสูงเป็นกองอย่างไม่มีระเบียบ เช่น สุมหญ้า สุมฟาง สุมหนังสือไว้เต็มโต๊ะ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ความทุกข์สุมอก. (โบ) น. ต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น สุมม่วง คือ ป่าม่วง. (จารึกสุโขทัย).

มรรค-

หมายถึง[มักคะ-] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

คอมมิวนิสต์

หมายถึงน. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยมที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่างเสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็นผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).

มหาดไทย

หมายถึงน. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข การพัฒนาชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.

กลืน

หมายถึง[กฺลืน] ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.

ดับ

หมายถึงก. สูญสิ้นไป เช่น วิญญาณดับ อนาคตดับ, สิ้นแสง เช่น ไฟดับ เดือนดับ, ทำให้สิ้นแสง เช่น ดับไฟ, ทำให้สิ้น เช่น ดับกิเลส ดับทุกข์, ทำให้ระงับ เช่น ดับโทสะ ดับโมโห, หยุดหรือทำให้หยุด เช่น เครื่องดับ ดับเครื่อง; เรียกวันสิ้นเดือนตามจันทรคติว่า วันดับ.

ร่วม

หมายถึงก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้าน ร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติ มีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทำมาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.

ทางสายกลาง

หมายถึงน. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใดทางหนึ่ง.

รู้สึก

หมายถึงก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุกเท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึกสนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่าจะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้องยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ