ค้นเจอ 1,929 รายการ

วจะ

หมายถึง[วะ-] (แบบ) น. คำพูด, ถ้อยคำ, คำกล่าว. (ป.; ส. วจสฺ).

สวนีย,สวนีย-

หมายถึง[สะวะนียะ-] น. คำที่น่าฟัง, คำไพเราะ. (ป.; ส. ศฺรวณีย).

เหวง

หมายถึง[เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาเหวง หมายความว่า เบามาก.

สกรรถ

หมายถึง[สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).

บทดอกสร้อย

หมายถึงน. ชื่อคำร้อยกรองชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายสักวา แต่ในวรรคที่ ๑ มี ๔ คำ มี เอ๋ย เป็นคำที่ ๒ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มักมี ๔ คำกลอน และคำลงจบบทให้ลงว่า เอย, ดอกสร้อย ก็ว่า.

กระทวย,-กระทวย

หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.

ยานี

หมายถึงน. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ คำ จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ; ชื่อเพลงหน้าพาทย์.

มังค่า

หมายถึงว. คำประกอบคำ ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อแคว้นเบงกอล.

คำตาย

หมายถึงน. คำสระสั้นที่ไม่มีตัวสะกดพวกหนึ่ง และคำในมาตรา กก กด กบ.

ฉันสวย

หมายถึงคำพูดเรียกความมั่นใจ พูดคำนี้แล้ว ออร่าพุ่งออกจากตัวทันที

จตุรงคนายก

หมายถึง[จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).

วังชา

หมายถึงคำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ