ค้นเจอ 208 รายการ

อนุจร

หมายถึง[อะนุจอน] น. ผู้ประพฤติตาม, ผู้ติดตาม; เรียกพระภิกษุลูกวัดว่า พระอนุจร, พระอันดับ ก็เรียก. (ป., ส.).

มัชฌิมภูมิ

หมายถึง[-พูม] น. ภูมิหรือชั้นของคนชั้นกลาง, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่) มีพรรษาตํ่ากว่า ๕, ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ, และชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).

นมักการ

หมายถึงน. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้; คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).

กลองเพล

หมายถึง[-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.

นมัสการ

หมายถึงน. การแสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้; คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. (ป. นมกฺการ; ส. นมสฺการ).

อาราธน์,อาราธนา

หมายถึง[อาราด, อาราดทะนา] ก. เชื้อเชิญ, นิมนต์, อ้อนวอน, (ใช้แก่พระภิกษุสามเณรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์); ขอ. (ป., ส.).

ปัพพาชนียกรรม

หมายถึง[-ชะนียะ-] น. กิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ภิกษุ; การขับไล่ออกจากหมู่. (ส. ปฺรวฺราชนียกรฺม; ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

จุตูปปาตญาณ

หมายถึง[-ตูปะปาตะยาน] (แบบ) น. ความรู้ในจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลาย, ทิพยจักษุญาณ ก็เรียก. (ป.; ส. จฺยุตฺยุตฺปาตชฺาน).

การเวก

หมายถึง[การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.

นวกภูมิ

หมายถึง[นะวะกะพูม] น. ขั้นหรือชั้นแห่งผู้ใหม่, ในคณะสงฆ์หมายถึงภิกษุที่มีพรรษาต่ำกว่า ๕, ภิกษุจัดเป็น ๓ ชั้น ชั้นต้น คือ นวกภูมิ (ชั้นใหม่), ชั้นกลาง คือ มัชฌิมภูมิ มีพรรษาตั้งแต่ ๕ ถึง ๙, และ ชั้นสูง คือ เถรภูมิ (ชั้นพระเถระ) มีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป. (ป.).

น้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. คำเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).

กัปปิยภัณฑ์

หมายถึงน. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือจีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ