ค้นเจอ 1,985 รายการ

อ่าน

หมายถึงก. ว่าตามตัวหนังสือ, ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง, ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ; สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านใจ; ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง; คิด, นับ. (ไทยเดิม).

อ่านโองการ

หมายถึงก. ประกาศในพิธีพราหมณ์เพื่อสรรเสริญและอัญเชิญเทพเจ้า.

ทรงพระอักษร

หมายถึงเรียน เขียน อ่าน

ข้าม,ข้าม,ข้าม ๆ

หมายถึงว. เลยลำดับ, ไม่เป็นไปตามลำดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.

ยังเลย

หมายถึงใช้เป็นคำปฏิเสธกริยาที่ถูกถามอย่างสิ้นเชิง เช่น ถามว่า อ่านหรือยัง ตอบว่า ยังเลย.

หมายถึงใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.

ก ข ไม่กระดิกหู

หมายถึง[โบ อ่านว่า กอข้อ-] (สำ) น. ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้.

ตู่ตัว

หมายถึงว. เพี้ยนตัว, ไม่ตรง, (ใช้ในการอ่านหนังสือ เช่น อ่านตู่ตัว ด เป็นตัว ค).

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

บอกคำบอก

หมายถึงก. บอกหรืออ่านหนังสือให้เขียนตาม.

คำ

หมายถึงน. ทองคำ เช่น หอคำ เชียงคำ.

อักขรวิบัติ

หมายถึงน. การเขียน อ่าน หรือออกเสียงไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ