ค้นเจอ 305 รายการ

ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๒ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรารภ ลาภ.

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

หมายถึงพูดว่าคนอื่นอย่างไร ตนเองก็กลับเป็นอย่างนั้นเสียเองเหมือนอิเหนาที่ปรารภว่าไม่รักไม่ต้องการบุษบา แต่ตัวเองกลับลักพาบุษบาไป

สัมปทา

หมายถึง[สำปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).

ผู้มีความเพียรอย่างแรงกล้า เท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

ประโยค

หมายถึง[ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).

ฝึกฝน

หมายถึงก. เพียรฝึก, พยายามฝึก, เช่นฝึกฝนตนเองให้ชำนาญในการเย็บปักถักร้อย.

พีร,พีร-

หมายถึง[พีระ-] น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).

บรากรม

หมายถึง[บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).

พระเยซูเจ้าคือพระสหาย ผู้ทรงย่างกายเข้ามา เมื่อโลกย้ายออกไป

แปลว่าเราบอกสิ่งเหล่านี้แก่ท่าน เพื่อท่านจะได้มีสันติในจิตใจของท่านเนื่องจากเรา ระหว่างที่ท่านอยู่ในโลก ท่านจะต้องทรมาน แต่จงทำใจดีไว้เถิด

ดบัสวิน,ดบัสวี

หมายถึง[ดะบัดสะ-] (แบบ) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี. (ส. ตปสฺวินฺ).

วิริยะ

คำบาลีวิริย

คำสันสกฤตวีรฺย