ค้นเจอ 1,113 รายการ

วรมหาวิหาร

หมายถึง[วอระ-] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดตํ่าสุดว่า ชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ วัดพระธาตุพนม, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เช่น วัดจักรวรรดิ วัดระฆัง.

วัปป,วัปป-,วัปปะ

หมายถึง[วับปะ-] น. การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล; ฝั่งน้ำ. (ป. วป ว่า ผู้หว่านพืช; ส. วปฺร ว่า ฝั่งน้ำ ทุ่งที่หว่านพืชไว้ ทุ่ง).

วิฬังค์

หมายถึงน. ผักดอง. (ป.; ส. วิฑงฺค ว่า ยาสำหรับฆ่าตัวพยาธิในท้อง).

วีต,วีต-

หมายถึง[วีตะ-] ว. ไปแล้ว, หมดแล้ว, ปราศจาก, มักใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น เช่น วีตราคะ ว่า หมดราคะ วีตโลภะ ว่า หมดความโลภ. (ป., ส.).

แว่นฟ้า

หมายถึงน. กระจก, เรียกพระแท่นที่ประดับกระจกว่า พระแท่นแว่นฟ้า; เรียกพานที่ซ้อนกัน ๒ ชั้น ชนิดหนึ่งประดับมุกหรือกระจกเป็นต้น ใบบนเป็นพานทรงสูงซ้อนกันอยู่บนตะลุ่ม อีกชนิดหนึ่งทำด้วยโลหะจำหลักลายกะไหล่ทอง ใบบนเป็นพานเล็กซ้อนอยู่บนพานใหญ่ ว่า พานแว่นฟ้า.

ศฤงคาร

หมายถึง[สิงคาน, สะหฺริงคาน] น. สิ่งให้เกิดความรัก, บริวารหญิงผู้บำเรอความรัก เช่น สาวศฤงคารคนใช้. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ส. ศฺฤงฺคาร ว่า ความใคร่).

เศวตร

หมายถึง[สะเหฺวด] (โบ) น. สีขาว. (ส. เศฺวตร ว่า โรคเรื้อนนํ้าเต้า; ป. เสต).

สนิท

หมายถึง[สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).

สมปัก

หมายถึงน. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (เทียบ ข. สํพต ว่า ผ้านุ่ง).

สมรรถ,สมรรถ-

หมายถึง[สะมัด, สะมัดถะ-, สะหมัดถะ-] ว. สามารถ. (ส. สมรฺถ ว่า ผู้สามารถ; ป. สมตฺถ).

สะกอ

หมายถึงว. ตะกอ, หนุ่ม, รุ่น, ในคำว่า หนุ่มสะกอ รุ่นสะกอ; รวมอยู่เป็นพวก ๆ. (ข. สรกอ ว่า รุ่นราวคราวเดียวกัน).

สังหร,สังหรณ์

หมายถึง[-หอน] ก. รู้สึกคล้ายมีอะไรมาดลใจ ทำให้รู้ว่าจะมีเหตุเกิดขึ้น (มักใช้แก่เหตุร้าย) เช่น สังหรณ์ว่าจะเกิดเรื่องร้ายขึ้นที่บ้าน. (เทียบ ส. สํหรณ ว่า ยึดไว้).