ค้นเจอ 128 รายการ

son-in-law

แปลว่าเขย

N

rule

แปลว่านั่งเมือง

V

ไอ่

หมายถึงชื่อมเหสีของท้าวผาแดง ในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ผาแดงนางไอ่ อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าตนพ่อปิตา จิ่งได้หานามกรแก่นางนงน้อย ชื่อว่าสอยวอยหน้ากัลยานางไอ่ อันแต่ขงเขตใต้ลือน้อยว่างาม (ผาแดง).

สื่อเมือง

หมายถึงคนกลางที่นำข่าวของมหาชนไปสู่รัฐ อย่างว่า ท้าวฮุ่งไขเงื่อนถ้อยถามหมู่ลุงอาว ผายความยินสื่อเมืองฝูงเหง้า บัดนี้เฮาก็ฟันแมนฮ้ายคลาเวียงสะสว่าง เพิงที่เมี้ยนเครื่องเข้าพลล้านลวดลาย ฮู้รือ (ฮุ่ง).

กบิล

หมายถึง1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).

ไคว

หมายถึงโยก คลอน สะเทือน อย่างว่า นับอ่านได้ล้านหนึ่งพลหาญ ฮองอาสาช่วงทางทัพหน้า หมู่หนึ่งฮู้แป่ม้างพะลานท้าวไควคอน เลาลมหลวงออกดังสองก้ำ เค็งเค็งท้อนธุลีแดนดับโลก ขันแป่ม้างตางเจ้าฝ่ายขวา (สังข์).

จาตุมหาราชิก,จาตุมหาราชิกา

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.

ชุบตัว

หมายถึงก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่; โดยปริยายหมายถึงไปศึกษาอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้มีความรู้สูงขึ้น ดีขึ้น โดยมากหมายถึงในยุโรปและอเมริกา เช่น ไปชุบตัวมาจากเมืองนอก.

ดุษิต,ดุสิต

หมายถึงน. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ครอง. (ส. ตุษิต; ป. ตุสิต).

แหลวคำ

หมายถึงเหยี่ยวแดง เหยี่ยวที่มีหงอนแดง เรียก แหลวคำ อย่างว่า แม้งหนึ่งสูรย์คลาดคล้อยใกล้ค่ำออระชอน คับคาเห็นแหลวคำดั่งบนบินเค้า อันนั้นรือบ่ภูธรไท้จอมหัวท้าวกว่า กูนี้ เดินดุ่งเต้าเอาน้องเพื่อนเพลา แลชาม (ฮุ่ง).

กระบี่ลีลา

หมายถึงน. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทำนองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็นเพลงร้องรำ ๒ ชั้น ทำนองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและกลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่นตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดำบรรพ์).

ชื่อว่าโลกีย์กว้างเมืองคนมันบ่เที่ยง มัน หากเงี่ยงซ่อยง่อยคือค่อยตลิ่งของลางเทื่อแนวเด็กน้อยสอนคนหัวด่อน ลางเทื่อลุกไพร่บ้าน สอนท้าวพ่อพญาก็มี

ความหมายโลกนี้ไม่เที่ยงหนอ วันนี้ลูกหลานอาจสอนพ่อแม่ พ่อเมืองยังต้องเชื่อชาวบ้าน