ค้นเจอ 60 รายการ

ขับไม้

หมายถึงน. การเล่นดนตรีอย่างหนึ่ง มีคนเล่น ๓ คนด้วยกัน คนหนึ่งขับร้องลำนำ คนหนึ่งสีซอ ๓ สายประสานเสียง คนหนึ่งไกวบัณเฑาะว์ให้จังหวะ; ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ใช้โคลงกับกาพย์สุรางคนางค์สลับกัน.

อยู่อาสา

หมายถึง(โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็งและประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).

กากคติ

หมายถึง[กากะคะติ] น. ชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มีดำเนินกลอนอย่างกาที่บินไป เช่น สรรเพ็ชญ์เจ้าได้ ทรงฤทธิ์เรืองไกร ย่อมบำเพงทาน ให้พระวิมุติ โลกุดรญาณแสวงศีลาจาร ประเสริฐหนักหนา. (ชุมนุมตำรากลอน).

เคียว

หมายถึงแรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต).

อัศวิน

หมายถึง[อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนำหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อนเวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).

สิบสองพระกำนัล

หมายถึง(โบ) น. กำนัลที่มีหน้าที่รับใช้พระมหากษัตริย์ มี ๑๒ ตำแหน่ง ได้แก่ กำนัลรับพระหัตถ์ กำนัลพระขันหมาก กำนัลน้ำเสวย กำนัลพัชนี กำนัลพระสำอาง กำนัลพระมาลา กำนัลพระบังคน กำนัลพระไสยาสน์ กำนัลทิพยรส กำนัลพระโภชน์ กำนัลพระโอษฐ์ และกำนัลทาพระองค์. (กาพย์ขับไม้).

กาพย์กิ่งไผ่ คือ รูปโคลงกลอนสมัยเก่าที่มีสีสันของเพลงพื้นเมือง รูปแบบจะเป็นรูปโคลงสัมผัส 7 คำ ในตอนแรกๆ มักจะเป็นการขับร้องเนื้อเพลงความรักของหนุ่มสาว ต่อมาจึงได้มีการขับร้องพรรณนาประเพณีของท้องที่หนึ่งๆ

ภาษาจีน竹枝词

Thai religious verse

แปลว่ากลอนสวด

N

รามเกียรติ์

คำบาลีราม+กิตฺติ

คำสันสกฤตราม+กีรฺติ

kind of Thai verse

แปลว่ากากคติ

N

อินทรวิเชียร

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น

hymn

แปลว่าโอ้เอ้

N