ค้นเจอ 9 รายการ

 หรือคุณกำลังค้นหา ข้อหล้อ

สีบัว

หมายถึงสีชมภู (ภาษาอีสานตอนบน)

ตลาด

หมายถึงตลาด (เหมือนกับภาษากลาง)

แว่

หมายถึงไปมาหาสู่ เยี่ยมเยือน ความหมายคล้ายกับภาษากลางคำว่า แวะ

ข้อหล้อ

หมายถึงสั้นนิดเดียว เรียก สั้นข้อหล้อ อย่างว่า สั้นข้อหล้อมือยื้อบ่เถิง สูงเจวเววชั่วสามวาฮิ้น (ภาษา).

ข่า

หมายถึงคนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า

สะออน

หมายถึงเป็นภาษาพูด (ควมเว้า) ของชาวอีสาน มีความหมายว่า ชอบใจ, พอใจ, ติดใจ, ปลื้ม, น่าชมเชย

แม่น

หมายถึงใช่ คำว่า แม่น ภาษาอีสานจะออกเสียงว่า แม็น (เสียงสั้น) จะไม่ได้ออกเสียง แม่น ที่แปลว่า เที่ยงตรง ถูกต้อง

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

อาว

หมายถึงน้องชายของพ่อ เรียก อาว อย่างว่า ขอให้อาได้เห็นหน้าอาวยามน้อย (สังข์) เขาพี่น้องเนืองสู้ช่อยอาว (ฮุ่ง). อาว แปลว่า น้องชายของพ่อ ส่วนน้องสาวของพ่อ เรียกว่า อา เหมือนในภาษาไทยกลาง

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ