ค้นเจอ 13 รายการ

เค้า

หมายถึงเค้าโครง

กุสลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศล มีข้อความตรงกันกับกุศลกรรมบถทุกประการ.

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

กฐินฮังโฮม

หมายถึงกฐินสามัคคีเรียก กฐินฮังโฮม กฐินชนิดนี้มีเจ้าภาพร่วมกันหลายคนจุดประสงค์ก็เพื่อจะรวบรวมเงินไปสร้าง กุฏิ วิหาร ศาลา การเปรียญ หรือสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสาธารณะกุศล.

กรรมทายาท

หมายถึงผู้รับผลของกรรม กรรมมี ๒ คือ กรรมดี เรียก กุศลกรรม กรรมไม่ดี เรียก อกุศลกรรม เราสร้างกรรมดีเราก็ได้รับผลดี เราสร้างกรรมชั่วเราก็ได้รับผลชั่ว พ่อแม่พี่น้องรับแทนไม่ได้.

ฮอดยาม

หมายถึงถึงเวลา เรียก ฮอดยาม อย่างว่า ประดับปิ่นป้องฮีฮ่ำเฮียงเงา พอดีเสด็จฮอดยามยวงเช้า เค็งเค็งก้องตุริยาเค้าคื่น อวนอ่อนแก้วกือล้านล่วงไป (สังข์).

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

แหลวหลวง

หมายถึงเหยี่ยวใหญ่ เรียก แหลวหลวง อย่างว่า ครุฑใหญ่เปลื้องปีกแกว่งผาปิว แปนตูเห็นนาคเนืองในน้ำ แหลวหลวงเค้าหัวลายลุยผ่า นาคสว่านฟ้งฟางฮ้อนซ่าเสียง (สังข์).

ไหว้วาน

หมายถึงขอร้องให้ช่วยงาน เรียก ไหว้วาน ประเพณีอีสาน เวลามีความจำเป็นจะไปไหว้วานญาติพี่น้องให้มาช่วยงาน เช่น ปลูกเฮือน ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว หาบข้าว ตำข้าว และช่วยในงานการกุศลต่างๆ โดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารตามธรรมเนียม.

กบิล

หมายถึง1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).

แหลวคำ

หมายถึงเหยี่ยวแดง เหยี่ยวที่มีหงอนแดง เรียก แหลวคำ อย่างว่า แม้งหนึ่งสูรย์คลาดคล้อยใกล้ค่ำออระชอน คับคาเห็นแหลวคำดั่งบนบินเค้า อันนั้นรือบ่ภูธรไท้จอมหัวท้าวกว่า กูนี้ เดินดุ่งเต้าเอาน้องเพื่อนเพลา แลชาม (ฮุ่ง).

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ