ค้นเจอ 9 รายการ

กฎกรรม

หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.

สมบัติคูณเมือง

หมายถึงสมบัติที่ทำให้บ้านเมืองเจริญ เรียกสมบัติคูณเมือง มี ๑๔ อย่าง คือ หูเมือง ตาเมือง แก่นเมือง ประตูเมือง ฮากเมือง เหง้าเมือง ขื่อเมือง ฝาเมือง ขางเมือง เขตเมือง สติเมือง ใจเมือง คำเมือง เมฆเมือง (ประเพณี).

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ