ค้นเจอ 13 รายการ

ก้นขี้

หมายถึงทวารหนัก ก้นดาก ก็ว่า.

ไตรทวาร

หมายถึงทวารทั้ง 3 คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.

ฮู

หมายถึงรู

ขี้กะเดียม

หมายถึงรู้สึกจักจี้ เรียก หนักขี้กะเดียม หนักกะเดียม ก็ว่า.

ดาก

หมายถึงก้น , ตูด , ส่วนท้าย ปลายลำไส้ใหญ่ที่ทวารหนัก เรียก ดาก อย่างว่า ซ่าเพิ่นซ่าดี ซ่าโตซ่าหีติดดาก (ภาษิต) ดินเหนียวสีแดงเรื่อๆ หรือสีเหลืองอ่อน เรียก ดินดาก.

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

หมัน

หมายถึงเชือกหรือผ้าเศษที่ชุบน้ำมันยางสำหรับอุดรูรั่วของเรือที่แตกเป็นแนวยาวและกว้างเรียก ตอกหมันเฮือ.

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ