ค้นเจอ 29 รายการ

ช้า

หมายถึงนาน ไม่เร็ว ไม่ไว การทำโดยอาการเชื่องช้า เรียก ช้า อย่างว่า ช้าเป็นการนานเป็นคุณ (ภาษิต).

ยากไฮ้

หมายถึงยากจนไม่มีอะไรจะกิน อย่างว่า ทุกข์ยากไฮ้ให้ได้อยู่นำกัน กลอยมันมีชิค่อยหาเอาเลี้ยง (ภาษิต).

ไตรรัตน์

หมายถึงแก้ว 3 ประการคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

ขันหย่อง

หมายถึงเป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่มีขาสำหรับใส่ข้าวพระพุทธ

ขี้เฮอะ

หมายถึงสวะที่ลอยอยู่ตามน้ำ หรือติดอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ เรียก ขี้เฮอะ อย่างว่า อย่าเตาะเฮอะใส่หัว (ภาษิต).

เอี่ยน

หมายถึงปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).

ขี้ถี่

หมายถึงขี้เหนียว,หวงของ ตระหนี่ คนตระหนี่เรียก ขี้ถี่ อยากได้ของจากคนตระหนี่ต้องขอนาน อย่างว่า ขี้ถี่ขอคน (ภาษิต)

ไตรสรณคมณ์

หมายถึงการถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

เจ้าเมือง

หมายถึงเจ้าผู้ปกครองเมืองเรียก เจ้าเมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต) เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).

ไหม้

หมายถึงเผา ลุก ติดเชื้อ เช่น ไฟเผาเรือน เรียก ไฟไหม้เฮือน อย่างว่า ไฟบ่ไหม้เฮือนใผกะพออยู่ (ภาษิต).

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

ไถ

หมายถึงเครื่องมือทำนาชนิดหนึ่ง เรียก ไถ การไถมีไถฮุดและไถด้น อย่างว่า เดือนหกให้หว่านกล้า เดือนห้าให้แต่งไถ (ภาษิต).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ