ค้นเจอ 13 รายการ

ปวดแข่ว

หมายถึงปวดฟัน

ถือพา

หมายถึงตั้งครรภ์ หรือท้อง

ขี้โผ่น,ขี้โผ่

หมายถึงพุง,ท้อง

ขี้เฮี่ย

หมายถึงชื่อปลาชนิดหนึ่ง คล้ายปลาแขยงปักปวดมากจนขี้เรี่ยราด เรียก ปลาขี้เฮี่ย.

ไก่นา

หมายถึงชื่อนกชนิดหนึ่ง หากินข้าวเปลือกและอาหารตามท้องนา เรียก นกไก่นา.

บุ้นท้อง

หมายถึงคลื่นไส้เหมือนจะอาเจียน

ฮ้องเฮ่ง

หมายถึงร้องเสียงดัง อย่างว่า พอเมื่อฟืดฟืดฟ้าระดูด่วนคิมหันต์ มาแล้ว สาผลเนาอยู่นานในท้อง นับวันได้สิบเดือนพอขวบ ฟ้าเฮ่งฮ้องเดือนห้าฮว่านมา (ฮุ่ง).

กดทรง

หมายถึงวางมาด, ขี้เต๊ะ ,เก๊กหล่อ ทำท่าปั้นปึ่งขึงขังแสดงตนว่ามั่งมีศรีสุข อย่างว่า เพิ่นกะกดทรงโก้คือโตใหญ่ ตั้งทีแท้เข้าชิจี่เกลือจ้ำฮองท้องแม่นบ่มี (บ.).

ออกกรรม (ญ)

หมายถึงการที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม.

ฮากเมือง

หมายถึงหมอดู หมอดูโบราณ เรียก ฮากเมือง เพราะพวกหมอดูอาจทำนายโชคชะตาราศีของบ้านเมืองได้ เพราะหมอดูเขามีหลักเกณฑ์ในการดูเลขผานาที เพียงแต่มองขึ้นบนท้องฟ้า เห็นดาวดวงใดดวงหนึ่ง เช่น ดาวพิดานเมือง เขาจะทายทันทีว่าบ้านจะเดือดร้อนเพราะข้าศึกศัตรูหรือจะเจริญรุ่งเรือง ถ้ามองไปดูดาวหมูชัง ซึ่งดาวดวงนี้อยู่บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตก ถ้าดาวดวงนี้ใสเขาจะทายว่าหมูขึ้นราคาแล้ว ดังนี้เป็นต้น หมอดูคนโบราณจึงเรียกคนประเภทนี้ว่า ฮากเมือง.

แมงกินูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงจินูน, แมงอีนูน ก็เรียก

แมงอีนูน

หมายถึงแมลงนูน แมลงนูนเขียวเป็นด้วงที่มีสีสันสวยงามเป็นที่สนใจแก่ผู้พบเห็น อาหารตัวเต็มวัยได้แก่ใบไม้พืชในวงศ์ ตะแบก ( Lythraceae ) แต่หากนำมาเพาะเลี้ยงสามารถให้กล้วยเป็นอาหาร เขตแพร่กระจาย ตั้งแต่อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจะมีระยะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อนหรือหนอน ระยะดักแด้ ระยะตัวเต็มวัย ตัวหนอนมีขาสามคู่ ไม่มีขาเทียม ตัวเต็มวัยมีสีเขียววาว มีสวนขอบของส่วนหัว ลำตัวและปีกเป็นสีทองแดงด้านใต้ท้องและส่วนขามีสีทองแดง มีระยางค์สัมผัสที่ส่วนหัว 2 คู่ มีกราม 2 คู่ และหนวด 1 คู่ แบบใบไม้ lamellate แมลงนูนเขียวยังเป็นแมลงที่ได้รับความสนใจของผู้เลี้ยงแมลงในกลุ่มด้วงจากต่างประเทศ และมีการนำแมลงนูนเขียวมาบริโภคเป็นอาหาร แมงกินูน, แมงจินูน ก็เรียก

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ