ค้นเจอ 8 รายการ

ก่งเกื้อ

หมายถึงเกื้อกูล, อุดหนุน, เจือจุน อย่างว่า ขอให้คึดก่งเกื้อยามใช้ช่วงการ (กา) ขอให้น้องก่งเกื้อเยื้อนโผดกูร์ณา (สังข์)

เกื้อ

หมายถึงเอื้อเฟื้อ

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

ก่ง (เก่ง)

หมายถึงผู้เก่งกล้า ผู้มีความสามารถ อย่างว่า เมื่อนั้นผู้ก่งท้าวทรงเทศเป็นพระยาวางธรรมถวายผนวชไลลาไว้ บัวนางล้อมระวังเพ็งพื้นล่าง ถวายเสื้อผ้าทังม้าวมิ่งแหวน (สังข์)

ก่ง (คิ้ว)

หมายถึงโค้ง คิ้วโค้ง เรียกคิ้วก่ง เช่น คิ้วก่งกวมตา อย่างว่า ออระม่อยหน้าคิ้วก่งคันศร ขนตางอนสิ่งนางเมืองฟ้า ทันตาแข้วขาวงามปานแว่น ฮูปอ้อนแอ้นนางฟ้าก็บ่ปาน (บ.)

ก่งด่ง

หมายถึงอาการชี้ขึ้น เช่น วัวตื่นวิ่งไปหางจะชี้ก่งด่ง อย่างว่า งัวถือเชิงหางชี้ก่งด่ง แล่นข้วมท่งลัดป่าลัดดอน บ่ได้กินได้นอน มันกะบ่เมื่อย

ก่งโก๊ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งเรียกก่งโก๊ะ ก่งโก้ย ก็ว่า อย่างว่า เจ้าผู้จึ๊กจิ๊จื้น ขามะเฮ็งเก้ากิ่ว สังบ่โก๊ะก้มโก้ยคลายเล่นอยู่ขี้ดินพุ้นนอ (ผญา)

ก่องจ่อง

หมายถึงกริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ