ค้นเจอ 15 รายการ

นิรโทษกรรม

หมายถึงการยกโทษให้ผู้ทำผิดไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย.

สมมา

หมายถึงขอขมา, ขอขมาลาโทษ

อกุศลกรรม

หมายถึงความชั่วร้าย โทษ บาป (ป. อกุสลกมฺม).

ซกงก

หมายถึงอาการที่ยกขึ้นสูงเรียก ซกงก

กองก้นจูดกูด

หมายถึงลักษณะอาการของคนหมอบหัวลงแล้วยกก้นขึ้น

อโหสิกรรม

หมายถึงกรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.).

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

เมืองเมือง

หมายถึงรุ่งเรือง สว่าง สุกใส อย่างว่า เมืองเมืองจอนใส่หูเฮืองม้าว (กาไก) เมืองเมืองเหลื้อมพระกายกองแจ้งสว่างขายี่ผู้ธรรม์เหง้าอ่อนชาย (ฮุ่ง).

ยอ

หมายถึงยก ยกมือเรียก ยอมือ อย่างว่า ยอมือนบขาบกรกลอยไหว้ (สังข์) ชาติที่ยอเงิงไง้ขอนเห็นดูหลาก คันบ่เข็บก็งอดเงี้ยวงูฮ้อยหากมี บ่อย่าแล้ว (กลอน).

สุย

หมายถึงเฉียดไป อย่างว่า ยกยื่นเปลื้องค้อนแกว่งไกวกลาย แยงสุงสุยถืกกองทันสร้าง จักหมายหมั้นฮอยไคลคลาคลาด อดอยู่ฮ้างฮามหน้าบ่บาน (ฮุ่ง).

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ